Month: สิงหาคม 2014

เรื่องน่ารู้ในการดูแลลูกรัก (2)

การดูแลทารกประจำวัน (2)

การอาบน้ำให้ลูกน้อย (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

1. ผสมน้ำอุ่นในอ่างอาบน้ำใบพอเหมาะ ใช้หลังมือหรือข้อศอกจุ่มทดสอบความร้อน

2. ถอดเสื้อผ้าลูกออก แล้วห่อตัวไว้ด้วยผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่

3. ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุก เช็ดตา หน้า ใบหู โดยเปลี่ยนสำลีก้อนใหม่ทุกครั้ง

4. เริ่มสระผมให้ลูก อุ้มลูกโดยประคองท้ายทอยด้วยฝ่ามือ และให้ลำตัวของเด็กพาดอยู่กับแขนท่อนล่างของแม่ใช้ข้อศอกหนีบส่วนขาของลูกเข้ากับลำตัวใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางข้างเดียวกันปิดใบหูทั้งสองข้างเพื่อป้องกันน้ำเข้าหู จากนั้นใช้ฟองน้ำลูบผมให้เปียกทั้งศีรษะ สระผมเบาๆ ด้วยน้ำยาสระผมและล้างออกจนหมด เช็ดผมให้แห้งด้วยผ้าขนหนู

5. เริ่มอาบน้ำหลังจากคลายผ้าห่อตัวออก ใช้ฟองน้ำชุบน้ำพอหมาดลูบไล้ให้ทั่วบริเวณลำตัว ถูสบู่กับมือคุณแม่ก่อนจึงค่อยมาลูบที่ลำตัว ซอกคอ รักแร้ และแขนขา จากนั้นค่อยๆ วางลูกลงในอ่างใช้มืออ้อมทางด้านหลังไปจับที่รักแร้ และใช้แขนท่อนล่างรองส่วนศีรษะและบ่าไว้ ล้างสบู่ออกให้หมดแล้วเปลี่ยนท่าให้ลำตัวด้านหน้าของลูกวางอยู่บนแขน ล้างสบู่ด้านหลังออกให้หมดแล้วจึงนำลูกขึ้นจากอ่างน้ำ ซับตัวให้แห้งทันทีโดยเฉพาะบริเวณข้อพับ ขาหนีบ และอวัยวะเพศ

ข้อควรระวัง

1. อย่าให้ลูกน้อยอยู่ในอ่างอาบน้ำตามลำพังโดยเด็ดขาด
2. ระวังไม่ให้ระดับน้ำอยู่สูงเกินไป (ไม่เกิน 10 ซมจากก้นอ่าง)
3. ไม่ควรใส่น้ำร้อนเพิ่มเติมขณะลูกอยู่ในอ่าง

การทำความสะอาดหลังขับถ่าย

ควรทำความสะอาดหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง เพื่อป้องกันความอับชื้น

เด็กผู้หญิง

1. ใช้กระดาษชำระเช็ดอุจจาระออกให้หมดจากด้านหน้าไปด้านหลัง แล้วจึงคลายผ้าอ้อมออกจากตัวลูก

2. ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วเช็ดบริเวณหน้าท้อง ขาหนีบ ต้นขาแต่ละข้าง แล้วจึงเช็ดอวัยวะเพศโดยใช้สำลีก้อนใหม่เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากทวารหนักย้อนมาเปื้อนด้านหน้า จากนั้นยกขาขึ้นแล้วใช้สำลีก้อนใหม่เช็ดบริเวณก้นและทวารหนักเป็นตำแหน่งสุดท้าย

3. ซับขาหนีบให้แห้ง ปล่อยให้ระบายอากาศซักพักจนแห้งสนิท ล้างมือคุณแม่ให้สะอาด อาจทาครีมป้องกันความเปียกชื้น เช่น ปิโตรเลียม เจล

ก่อนใส่ผ้าอ้อม ไม่ต้องโรยแป้งทับบริเวณที่ทาครีมข้อควรระวัง ถ้าเริ่มเป็นผื่นแดงใต้ร่มผ้า ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมให้บ่อยขึ้น ซับให้แห้ง ปล่อยให้ระบายอากาศซักพักก่อนใส่ผ้าอ้อมให้

เด็กผู้ชาย

1. ใช้กระดาษชำระเช็ดอุจจาระออกให้หมดจากด้านหน้าไปด้านหลัง แล้วจึงคลายผ้าอ้อมออกจากตัวลูก

2. ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วเช็ดหน้าท้อง ขาหนีบ ต้นขาในส่วนของอวัยวะเพศให้ทำความสะอาดรอบๆ ไม่ต้องเปิดหนังหุ้มปลาย เช็ดใต้อวัยวะรวมทั้งอัณฑะให้ทั่ว

3. ยกขาทั้ง 2 ข้างเพื่อทำความสะอาดบริเวณก้น ขาหนีบ และรูทวารเป็นตำแหน่งสุดท้าย

4. ล้างมือให้สะอาด ใช้กระดาษชำระหรือผ้าสะอาดซับให้แห้ง ปล่อยให้ระบายอากาศจนแห้งสนิท แล้วจึงใส่ผ้าอ้อม(อาจใช้ครีมป้องกันความเปียกชื้นทาก่อนใส่ผ้าอ้อม โดยไม่ต้องโรยแป้งทับในส่วนที่ทาครีม)

ขอบคุณบทความดีๆจากเอกสาร “ คู่มือเลี้ยงลูก สำหรับคุณแม่มือใหม่” โดย  แพทย์หญิงบังอรรัตน์ เกยุราพันธ์

โพสต์โดย W. Bond

ติดตามบทความน่าอ่าน เสื้อกันหนาวเด็ก ร้านขายเสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าเด็กนำเข้า รองเท้าเด็ก ชุดกันหนาวเด็ก เสื้อผ้าเด็กอ่อน เสื้อผ้าเด็กราคาถูก เสื้อผ้าเด็ก

เรื่องน่ารู้ในการดูแลลูกรัก (1)

การดูแลทารกประจำวัน

การดูแลสะดือทารก สะดือจะหลุดหลังคลอดประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากสะดือหลุด แผลโคนสะดือจะแห้งสนิทภายใน 2-3 สัปดาห์ ก่อนสะดือหลุดควรทำความสะอาดสะดือเด็กเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่สะดือ (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

วิธีเช็ดสะดือ

1. ล้างมือผู้เช็ดให้สะอาด

2. ใช้มืออีกข้างหนึ่งดึงสายสะดือขึ้นแล้วจึงใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% พอชุ่มเช็ดรอบสะดือจากด้านในออกด้านนอก

3. ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% อีกก้อนหนึ่งเช็ดจากโคนสะดือไปยังปลายสะดือ

ข้อควรระวัง

  • ควรเช็ดสะดือทุกวันหลังอาบน้ำจนกว่าสะดือจะหลุด ถ้าสังเกตว่าผิวรอบๆ โคนสะดือบวมแดง มีน้ำเหลือง หนอง หรือเลือดซึมมีกลิ่นเหม็น ควรไปพบแพทย์ทันที
  • ห้ามใช้แป้งหรือยาผงโรยสะดือเด็ก

การเช็ดตัว

ควรเตรียมอุปกรณ์ดังนี้ อ่างน้ำใส่น้ำอุ่น อ่างเล็กใส่น้ำต้มสุกที่เย็นแล้วสำลี ฟองน้ำ ผ้าขนหนูผืนเล็ก สบู่เด็ก ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้าสะอาด กระดาษชำระหรือ ผ้าซับแห้ง

วิธีเช็ดตัว

1. ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว บีบพอหมาด เช็ดตาทีละข้าง จากหัวตาไปหางตาโดยเปลี่ยนสำลีก้อนใหม่สำหรับตาอีกข้างหนึ่ง

2. ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว บีบพอหมาด เช็ดใบหูทีละข้างจากด้านนอกและด้านหลัง แต่ไม่ต้องเช็ดภายในรูหู และเปลี่ยนสำลีก้อนใหม่สำหรับตาอีกข้างหนึ่ง

3. ใช้สำลีหรือฟองน้ำหรือผ้าขนหนูผืนเล็ก เช็ดหน้า รอบปาก จมูก แก้ม รวมทั้งใต้คาง และ รอบๆ คอ จากนั้นซับให้แห้ง

4. เช็ดใต้รักแร้ มือ และ ซอกนิ้วรวมทั้งลำตัว หลัง ด้วยฟองน้ำหรือผ้าขนหนูผืนเล็กจากแล้วซับให้แห้ง

5. ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและก้น ด้วยน้ำอุ่น

ขอบคุณบทความดีๆจากเอกสาร “ คู่มือเลี้ยงลูก สำหรับคุณแม่มือใหม่” โดย  แพทย์หญิงบังอรรัตน์ เกยุราพันธ์

โพสต์โดย W. Bond

ติดตามบทความน่าอ่าน เสื้อกันหนาวเด็ก ร้านขายเสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าเด็กนำเข้า รองเท้าเด็ก ชุดกันหนาวเด็ก เสื้อผ้าเด็กอ่อน เสื้อผ้าเด็กราคาถูก เสื้อผ้าเด็ก

คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก (11)

อาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

ตัวเหลือง เป็นลักษณะที่ผิวหนังของลูกมีสีเหลือง มักพบใน 2-3 วันแรกหลังเกิด ซึ่งพบได้บ่อย ถ้าไม่เหลืองมากจะไม่มีอันตราย การที่ผิวหนังมีสีเหลืองเกิดจากสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” คุณแม่จะสังเกตดูตัวเหลืองได้ โดยดูที่ตาและผิวหนังของลูก ถ้าตัวเหลืองมากจะเห็นที่ผิวหนังของทั้งตัว

บิลิรูบินคืออะไร

บิลิรูบิน คือสารที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้วแตกตัวเสื่อมสลายไป ซึ่งปกติแล้วการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นในตับ และบิลิรูบินจะถูกขับออกมาทางลำไส้ออกมาในอุจจาระ ในคนทั่วไปปกติจะไม่เหลือบิลิรูบินค้างติดตามผิวหนัง ยกเว้นในเด็กแรกเกิด

ทำไมเด็กแรกเกิดจึงตัวเหลือง

ในเด็กแรกเกิด เม็ดเลือดแดงจะอายุสั้นกว่าเม็ดเลือดแดงของผู้ใหญ่ ทำให้มีการสร้างสาร “บิลิรูบิน” มากขึ้น ประกอบกับตับของเด็กแรกเกิดยังทำงานไม่เต็มที่ทำให้ขับบิลิรูบินออกได้ไม่หมด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นเด็กแรกเกิดก่อนกำหนดจะมีอาการตัวเหลืองได้มากขึ้น) ในเด็กแรกเกิดปกติทั่วไปจะเห็นตัวเหลืองใน 2-5วันแรกหลังเกิด และมักจะหายไปใน 2 สัปดาห์แรก โดยไม่มีอันตรายแต่อย่างใด

ทราบได้อย่างไรว่าบิลิรูบินสูงแค่ไหน

การดูด้วยสายตาจะบอกได้พอประมาณ ปกติตัวเหลืองมักจะเริ่มต้นเห็นได้ชัดเจนที่ตา ใบหน้า ลามมาถึงส่วนล่างของร่างกาย คุณแม่ลองใช้มือกดลงไปที่ผิวหนังของลูก จะเห็นลักษณะสีผิวของลูกว่าเหลืองหรือไม่ ถ้าสีเหลืองลามมาถึงหัวเข่ามักแสดงว่าเหลืองถึงขั้นต้องรักษา เพราะถ้าเหลืองระดับที่สูงมากเกินไปจะทำอันตรายต่อสมอง เกิดสมองพิการในระยะต่อมา แต่การจะทราบว่าถึงระดับไหนได้แน่นอน ต้องเจาะเลือดจากส้นเท้าของลูกไปตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ เพราะถ้ามีระดับที่สูงมากเกินไปจะทำอันตรายต่อสมอง เกิดสมองพิการในระยะต่อมา

การรักษาทำได้อย่างไร

เมื่อระดับ “บิลิรูบิน” ของลูกสูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง จะได้รับการรักษาโดยส่องไฟพิเศษ แสงไฟจะช่วยขับสารบิลิรูบินออกทางอุจจาระ ปัสสาวะ ผิวหนังลูกของคุณต้องถอดเสื้อผ้าหมดและปิดตาขณะส่องไฟถ้าหากระดับของสารบิลิรูบินสูงมากจนถึงระดับที่จะทำอันตรายต่อสมองของลูกได้ แพทย์จะทำการ “ถ่ายเลือด” คือดูดเลือดของลูกที่เต็มไปด้วยบิลิรูบินออก และให้เลือดใหม่ที่ไม่มีบิลิรูบินเข้าไปทดแทน

จะป้องกันไม่ให้ลูกตัวเหลืองได้หรือไม่

ส่วนใหญ่แล้วตัวเหลืองเป็นภาวะที่พบได้ในเด็กแรกเกิดตามปกติ คุณแม่จะสามารถป้องกันไม่ให้ลูกตัวเหลืองเพิ่มจนถึงกับต้องให้การรักษาได้ โดยกระตุ้นให้ลูกดูดนมแม่ตั้งแต่หลังเกิดใหม่ให้บ่อยเกินกว่า 8 ครั้งต่อวัน หัวน้ำนมในวันแรกๆ จะกระตุ้นการขับถ่ายทางลำไส้ของลูก ทำให้ขับขี้เทาออกมาได้เร็ว ไม่มีสารบิลิรูบินคั่งค้างในร่างกาย

เมื่อกลับบ้านต้องทำอย่างไร

เนื่องจากคุณแม่และลูกส่วนใหญ่ มีเวลาอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 2-3 วันเท่านั้น ในเด็กบางคนอาจจะเริ่มเหลืองตั้งแต่อยู่ในโรงพยาบาล แต่ไม่มากนักไม่ต้องรับการรักษา ในเด็กบางคนขณะอยู่ที่โรงพยาบาล อาจไม่เห็นอาการตัวเหลืองเลยให้คุณแม่คิดไว้เสมอว่า ลูกอาจมีอาการตัวเหลืองได้ในช่วงสัปดาห์แรกหลังเกิดดังนั้นคุณแม่ต้องสังเกตว่าขณะอยู่บ้านลูกตัวเหลืองหรือไม่ หรือมีอาการตัวเหลืองเพิ่มขึ้นจากเดิม ต้องกระตุ้นให้ลูกดูดนมแม่มากๆ บ่อยๆ คุณแม่ต้องดื่มน้ำและทานอาหารให้เพียงพอ

ในลูกที่ต้องได้รับการรักษา ขณะอยู่ที่โรงพยาบาล เมื่อกลับบ้านแล้วก็ต้องคอยสังเกตว่าอาการตัวเหลืองกลับคืนมาอีกหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องนำลูกไปตากแดดเพราะอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ถ้าไม่แน่ใจ สงสัย สามารถกลับมาโรงพยาบาลเพื่อขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ แพทย์ พยาบาล ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ทำการตรวจวัดระดับบิลิรูบินตามความจำเป็น

การสังเกตอาการผิดปกติของทารกแรกเกิดและการแก้ไข

1. ไข้ ทารกจะมีอาการผิวหนังอุ่น/ร้อน ร้องกวน งอแง ไม่ควรห่อผ้าหนา ควรใส่เสื้อและกางเกงให้ลูก และเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น กระตุ้นให้ดูดนมมารดาทุก 2 ชั่วโมงถ้าหากพบว่าทารกมีไข้สูง กระสับกระส่ายร่วมกับมีอาการซึม ไม่ยอมดูดนม ให้รีบนำมาพบแพทย์

2. อาการตัวเย็น ทารกจะมีผิวหนังเย็น ซีดหรือคล้ำ ซึมไม่ดูดนม หายใจเร็วถ้าทารกตัวเย็นให้ห่อตัวด้วยผ้าหนาๆ ปรับอุณหภูิห้องให้เหมาะสม แล้วให้รีบนำมาพบแพทย์

3. อาการตัวเหลือง เป็นลักษณะที่ผิวหนังทารกมีสีเหลือง ที่มักพบได้ใน 2-3วันแรกหลังเกิด สังเกตจากการดูที่ตา และผิวหนัง ถ้าไม่เหลืองมากจะไม่มีอันตรายถ้าพบว่าตัวเหลืองมาก มองเห็นได้ชัด และเด็กมีอาการซึมลง ไม่ค่อยดูดนม ให้รีบนำมาพบแพทย์จะได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ เพื่อให้มีการขับสารตัวเหลืองออกมาทางอุจจาระและปัสสาวะ

4. การสำรอกหรืออาเจียน การแหวะนมเล็กๆ น้อยๆ เป็นภาวะปกติของทารกแรกเกิด เนื่องจากหูรูดของกระเพาะอาหารยังทำงานได้ไม่ดี ทำให้หูปิดไม่สนิทแต่ถ้ามีอาการสำรอกและพบว่าปลายมือ ปลายเท้าเย็น ให้รีบนำมาพบแพทย์

5. อุจจาระ ของทารกที่ดูดนมแม่จะมีลักษณะ ค่อนข้างเละๆ สีเหลือง เนื้อละเอียด หลังจากการถ่ายขี้เทาใน 2-3 วันแรก เด็กบางคนยิ่งดูดนมแม่บ่อยยิ่งถ่ายบ่อย ถ้าเด็กดูปกติไม่ซึม น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือร่างกายเจริญเติบโตดี ถือว่าสิ่งปกติ สำหรับทารกที่ได้รับนมผสม อุจจาระมักจะแข็ง และมีจำนวนมาก หลังการถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ให้ทำความสะอาดก้นและอวัยวะสืบพันธ์ุ และเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง

6. เยื่อบุบตาอักเสบ น้ำตาไหลหรือมีขี้ตา มาก ให้นำลูกมาพบแพทย์

7. สะดืออักเสบ บวม แดง หรือมีหนอง และมีกลิ่นเหม็น ให้นำลูกมาพบแพทย์

8. ผื่นแดง หรือรอยถลอกตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณก้น ให้นำลูกมาพบแพทย์

9. ภาวะสะอึก อาจพบได้ในทารกปกติ หลังดูดนมมารดา ให้อุ้มเรอในท่าปกติ หรืออาจลดปริมาณนมในแต่ละมื้อ แต่ให้บ่อยครั้งขึ้น

การให้ภูมิคุ้มกันโรค (วัคซีน)

ทารกแรกเกิดทุกราย จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค และตับอักเสบบีซึ่งจะบันทึกไว้ในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก และจะนัดให้มารับวัคซีนครั้งต่อไปคุณพ่อและคุณแม่ควรพาลูกมารับวัคซีนตามนัด ที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยใกล้บ้าน

อายุ วัคซีนป้องกันโรคที่ควรได้รับ

แรกเกิด วัณโรค ตับอักเสบ บี ครั้งที่ 1

1-2 เดือน ตับอักเสบ บี ครั้งที่ 2

2 เดือน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ตับอักเสบ บี ครั้งที่ 1

4 เดือน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ตับอักเสบ บี ครั้งที่ 2

6 เดือน ตับอักเสบ บี คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ครั้งที่ 3

9 เดือน วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม ครั้งที่ 1

1 ปีครึ่ง คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ครั้งที่ 4

1 ปีครึ่ง ไข้สมองอักเสบ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1 เดือน

2 ปีครึ่ง ไข้สมองอักเสบ ครั้งที่ 3

4 ปี คอตีบ ไอกรน บาดทะยักและโปลิโอ ครั้งที่ 5

พ่อแม่ควรดูแลแผลที่เกิดจากวัคซีนอย่างไร

1. รักษาบริเวณที่ฉีดให้สะอาด โดยเช็ดด้วยสำลีและน้ำสะอาดก็เพียงพอ

2. อย่าสะกิดตุ่มหนองหรือใช้ยาใดๆ ทาบริเวณที่ฉีด

3. แผลที่เกิดจาก บีซีจี อาจเป็นฝีขนาดเล็กอยู่ได้นาน 3-4 สัปดาห์ จะเป็นๆหายๆ ไม่จำเป็นต้องใส่ยาหรือปิดแผล

4. หากพบความผิดปกติบริเวณที่ฉีด เช่น บวมแดง ปวดแผลขยายใหญ่ขึ้นเป็นหนอง ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้โตขึ้นควรรีบมาปรึกษาแพทย์

ขอบคุณบทความดีๆจากเอกสาร “ คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก ” โดย  กรมอนามัยโดยกองอนามัยการเจริญพันธุ์ และกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ

โพสต์โดย W. Bond

ติดตามบทความน่าอ่าน เสื้อกันหนาวเด็ก ร้านขายเสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าเด็กนำเข้า รองเท้าเด็ก ชุดกันหนาวเด็ก เสื้อผ้าเด็กอ่อน เสื้อผ้าเด็กราคาถูก เสื้อผ้าเด็ก

คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก (10)

การดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับเด็กเล็ก

คุณแม่ควรใส่ใจตั้งแต่ฟันน้ำนมยังไม่ขึ้นหรือตั้งแต่แรกเกิด โดยใช้ผ้านุ่มๆ ชุบน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก ทำความสะอาดเช็ดภายในช่องปาก ไม่ให้มีคราบของน้ำนมติดอยู่ที่สันเหงือก กระพุ้งแก้มและลิ้น เพื่อสร้างนิสัยให้เคยชินกับการมีช่องปากที่สะอาด และฝึกให้เด็กรู้สึกคุ้นเคยกับการมีเครื่องมือเข้าไปในปาก (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

วิธีการทำความสะอาดช่องปากเด็กเล็กก่อนฟันน้ำนมขึ้น

อุ้มลูกในท่ากึ่งนั่ง กึ่งนอน เหมือนเวลาป้อนนม หรือนอนราบบนที่นอน จากนั้นใช้นิ้วพันผ้านุ่มสะอาดชุบน้ำต้มสุกเช็ดให้ทั่ว โดยเริ่มจากสันเหงือก กระพุ้งแก้มบนลิ้น ใต้ลิ้นและเพดาน ทำวันละ 2 ครั้ง เช้าและหัวค่ำหลังจากที่เด็กดูดนมเสร็จแล้ว ไม่ควรเช็ดหลังทานนมอิ่มใหม่ๆ (ควรแยกผ้าเช็ดในช่องปากกับผ้าอ้อมห่อตัวเด็ก) (เสื้อผ้าเด็ก)

วิธีการทำความสะอาดช่องปากเด็กเล็กภายหลังมีฟันน้ำนมขึ้นแล้ว

เมื่อลูกมีฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นในช่องปาก คุณแม่สามารถเริ่มใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนุ่มๆ ขนาดเล็กในการแปรงฟันของเด็กร่วมกับใช้ผ้านุ่มชุบน้ำสะอาดเช็ดฟันให้แก่เด็ก

คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก

1. หลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อที่ทำให้เกิดฟันผุทางน้ำลาย เช่น การเคี้ยวอาหารป้อนเด็กการชิมอาหาร การใช้ช้อนหรือถ้วยน้ำร่วมกับเด็ก

2. หลังจากกินนมแม่ 6 เดือน ควรเลือกนมจืดให้เด็ก ไม่ให้เด็กดูดนมหลับคาขวดนม และดื่มน้ำตามทุกครั้งหลังดื่มนม

3. ฝึกให้เด็กดื่มนมจากถ้วย เพื่อจะเลิกขวดนมเมื่ออายุไม่เกิน 1 ปีครึ่ง

4. ไม่ใส่เครื่องดื่มที่มีรสหวาน น้ำผลไม้ หรืออาหารอื่นในขวดให้เด็กดูด

5. เลือกอาหารที่มีคุณค่าให้กับเด็ก ไม่ให้อาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเกลือมากเกินควร และไม่ควรมีสารปรุงแต่งรส

6. อาหารระหว่างมื้อไม่เกิน 2 ครั้ง ต่อวัน ควรเน้นผัก ผลไม้ และนมจืด

7. ฝึกเด็กกินเป็นเวลา ไม่กินจุบจิบ และให้กินน้ำตามหลังอาหารทุกครั้ง

8. แปรงฟันให้เด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง

9. คุณแม่ควรหมั่นตรวจฟัน นับซี่ฟันของลูก และพามาตรวจฟันในวันที่พาเด็กมารับวัคซีนทุกครั้ง

ขอบคุณบทความดีๆจากเอกสาร “ คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก ” โดย  กรมอนามัยโดยกองอนามัยการเจริญพันธุ์ และกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ

โพสต์โดย W. Bond

ติดตามบทความน่าอ่าน เสื้อกันหนาวเด็ก ร้านขายเสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าเด็กนำเข้า รองเท้าเด็ก ชุดกันหนาวเด็ก เสื้อผ้าเด็กอ่อน เสื้อผ้าเด็กราคาถูก เสื้อผ้าเด็ก

คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก (9)

การอาบน้ำลูก

การอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย ทำให้ลูกรู้สึกสบาย ขณะอาบน้ำยังสามารถสังเกตสิ่งผิดปกติต่างๆ ในตัวลูก เช่น ผด ผื่น สำหรับเวลาในการอาบน้ำที่เหมาะสมเป็นเวลาที่มีอากาศอบอุ่น ช่วงสาย หรือบ่าย (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

การเตรียมอุปกรณ์ในการอาบน้ำ

1. อ่างน้ำใส่น้ำอุ่น

2. สบู่เหลว (หรือสบู่ก้อน)

3. ผ้าหรือฟองน้ำ

4. ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ ผืนเล็ก

5. สำลีใส่น้ำต้มสุกสำหรับเช็ดตา

6. สำลี แอลกอฮอล์สำหรับเช็ดสะดือ

ขั้นตอนการอาบน้ำลูก

1. ล้างมือและแขนให้สะอาด ผสมน้ำอุ่นครึ่งอ่างใช้ข้อศอกจุ่มน้ำ เพื่อทดสอบความอุ่นของน้ำให้พอดี

2. อุ้มลูกวางบนที่นอนที่มีผ้าขนหนูผืนใหญ่ปูรองไว้ ถอดเสื้อผ้าออก ห่อตัวลูกด้วยผ้าขนหนูให้กระชับ

3. เช็ดใบหน้า ใบหู และซอกหู

4. ประคองศีรษะให้อยู่ในอุ้งฝ่ามือ ใช้แขนและศอกหนีบลำตัวลูกไว้ข้างเอวใช้นิ้วมือพับใบหู 2 ข้าง เพื่อป้องกันน้ำเข้าหู

5. ใช้ฟองน้ำชุบน้ำบีบให้หมาด ลูบให้ทั่วศีรษะของลูกหยดสบู่ 1-2 หยด ใช้นิ้วนวดเบาๆ ให้ทั่ว แล้วล้างออกให้สะอาด เช็ดศีรษะให้แห้ง

6. นำตัวลูกลงอ่าง โดยใช้มือจับที่รักแร้เด็ก ไหล่เด็กพาดบนแขนของแม่

7. ลูบตัวลูกให้เปียกด้วยฟองน้ำ ใช้สบู่ลูบตัวทีละส่วนของร่างกาย ตั้งแต่แขน ซอกคอ ลำตัว ขา แล้วล้างฟองสบู่ออกให้หมด

8. ใช้มืออีกข้างจับที่หัวไหล่โดยอุ้มคว่ำให้อกพาดที่แขนแม่ลูบสบู่ให้ทั่วหลังก้นและขา แล้วล้างออกให้สะอาด

9. อุ้มลูกขึ้นจากอ่าง ซับน้ำให้แห้ง โดยเฉพาะตามซอก ข้อพับต่างๆ

10. เช็ดตาของลูกจากหัวตาไปหางตาทีละข้าง ด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 2 ก้อน และใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาดในรูจมูกทั้ง 2 ข้าง

11. ทำความสะอาดสะดือลูกด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์โดยเช็ดสะดือวนจากด้านในออกมาด้านนอก

12. แต่งตัวให้ลูกใส่เสื้อ ผ้าอ้อม และห่อตัวด้วยผ้าขนหนูหรือผ้าอ้อมผืนใหญ่เพื่อความอบอุ่นของลูก  กรณีที่ลูกตัวโต น้ำหนักมาก สามารถสระผมถูสบู่บนเบาะ แล้วอุ้มล้างตัวในอ่าง

ข้อควรระวัง

1. บริเวณที่อาบน้ำต้องไม่มีลมโกรก

2. อาบน้ำอย่างเบามือ นุ่มนวล เพราะผิวลูกบางและกระดูกเปราะง่าย

3. ไม่ใช้สบู่ทั้งก้อนถูตัวหรือศีรษะลูก

4. ไม่เกาหรือนวดบริเวณศีรษะลูก

5. ไม่ควรแช่ลูกในอ่างน้ำนานเกินไป เพราะจะทำให้ลูกหนาว

6. เช็ดตัวให้แห้งโดยวิธีซับ ไม่ถูหรือเช็ดแรง ๆ

ขอบคุณบทความดีๆจากเอกสาร “ คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก ” โดย  กรมอนามัยโดยกองอนามัยการเจริญพันธุ์ และกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ

โพสต์โดย W. Bond

ติดตามบทความน่าอ่าน เสื้อกันหนาวเด็ก ร้านขายเสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าเด็กนำเข้า รองเท้าเด็ก ชุดกันหนาวเด็ก เสื้อผ้าเด็กอ่อน เสื้อผ้าเด็กราคาถูก เสื้อผ้าเด็ก

คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก (8)

การดูแลทารกแรกเกิด

 

ทารกแรกเกิด คือ ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 28 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการปรับตัวอย่างมาก จากสภาพแวดล้อมจากบรรยากาศที่อบอุ่นในครรภ์มารดา ออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก จึงเป็นช่วงชีวิตที่มีความต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษดังนี้ (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง macaroonies)

1. การดูแลทางด้านร่างกาย

  • 1. ดูแลให้ได้รับอาหารที่เหมาะสม ได้แก่ นมแม่ ซึ่งทารกต้องกินน้ำนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน จึงจะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน มีภูมิต้านทานโรคและสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพ่อแม่ลูก
  • 2. ดูแลให้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ จัดให้ทารกได้นอนในที่สะอาด ปลอดภัยอากาศถ่ายเทสะดวก
  • 3. ดูแลการขับถ่าย ทารกที่กินนมแม่จะขับถ่ายง่าย โดยถ่ายวันละประมาณ3-4 ครั้ง ลักษณะอุจจาระจะเป็นเนื้อเละๆ นิ่มๆ สีเหลือง
  • 4. ดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย อาบน้ำสระผมทุกวัน และทำความสะอาดทุกครั้งหลังการขับถ่าย
  • 5. ดูแลความอบอุ่นของร่างกายอย่างเพียงพอ โดยสวมเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับอากาศ และฤดูกาล
  • 6. ดูแลระบบต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการหายใจ ถ้าพบว่าลูกหายใจเร็ว ปีกจมูกบาน อกบุ๋ม เล็บมือเล็บเท้าเขียวให้รีบมาพบแพทย์

2. การดูแลจิตใจ

ความรักและความอบอุ่นจากพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้ทารกมีการเรียนรู้ถึงความรัก ความไว้วางใจผู้อื่น เกิดทัศนคติที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม และจะมีผลต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่ การดูแลจิตใจสามารถทำได้โดย

การสัมผัส กอดรัด จะก่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นเป็นสุขสงบ เกิดความมั่นใจต่อสิ่งแวดล้อม และคนรอบข้าง

ควรตั้งชื่อลูกตั้งแต่แรกคลอด และเรียกชื่อทุกครั้งที่พูดคุยกับลูก การพูดคุยส่งเสียง การพยักหน้าหรือยิ้ม จะเป็นสื่อกระตุ้นพัฒนาการของทารกได้อย่างดี

ขณะที่อุ้มลูก อาจนวดนิ้วมือ แขน นิ้วเท้า เท้าของลูกเบาๆ ทำให้ลูกสบายตัว อารมณ์แจ่มใส

3. การอุ้มทารก

การอุ้มในท่าปกติ

อุ้มท่าตะแคงเข้าทางหน้าอก ให้ท้ายทอยของทารกอยู่บนข้อพับแขนของคนอุ้มวางแขนทอดไปตามลำตัวทารก อีกมืออุ้มช้อนส่วนก้นและช่วงขา ลำตัวทารกแนบชิดกับลำตัวของผู้อุ้ม ศีรษะ คอ ลำตัวอยู่ในแนวเดียวกัน

การอุ้มเรอ มี 2 ท่า

ท่าที่ 1 อุ้มพาดบ่าให้หน้าท้องทารกกดบริเวณหัวไหล่ผู้อุ้มเพื่อไล่ลม

ท่าที่ 2 อุ้มนั่งบนตัก หันหน้าออก โดยมือข้างหนึ่งจับที่หน้าอกทารก มืออีกข้างหนึ่งลูบหลังหรือเคาะเบาๆ โน้มตัวทารกไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อให้หน้าท้องถูกกดและไล่ลมออก

การปลอบเด็ก

อุ้มคล้ายกับการอุ้มเรอ และพูดคุยกับทารกไปด้วยหรืออาจใช้การอุ้มกอดทารก

ขอบคุณบทความดีๆจากเอกสาร “ คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก ” โดย  กรมอนามัยโดยกองอนามัยการเจริญพันธุ์ และกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ

โพสต์โดย W. Bond

ติดตามบทความน่าอ่าน เสื้อกันหนาวเด็ก ร้านขายเสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าเด็กนำเข้า รองเท้าเด็ก ชุดกันหนาวเด็ก เสื้อผ้าเด็กอ่อน เสื้อผ้าเด็กราคาถูก เสื้อผ้าเด็ก

คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก (7)

เทคนิคพิเศษการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

บันได 10 ขั้น  ที่คุณพ่อควรทำเพื่อช่วยคุณแม่ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (เสื้อผ้าเด็กขายส่ง)

1. ให้กำลังใจคุณแม่ขณะให้นมลูก เพื่อให้คุณแม่มีความมั่นใจและอบอุ่น

2. ให้ลูกได้อยู่กับคุณแม่มากที่สุด คุณพ่อต้องยอมรับว่าในระยะนี้ เวลาที่คุณแม่จะมีให้คุณพ่อมีน้อยลง

3. มีส่วนร่วมในการให้นมลูก ขณะคุณแม่กำลังให้ลูกดูดนม คุณพ่อควรหาโอกาสอยู่ร่วมด้วย พูดคุย ให้กำลังใจ สัมผัส ช่วยประคับประคองลูก ซึ่งจะทำให้ความผูกพันพ่อแม่ลูกแน่นแฟ้นขึ้น

4. มีความอดทนและเข้าใจ หากบ้านอาจจะไม่เรียบร้อย อาหารอาจไม่อร่อยเนื่องจากคุณแม่ให้เวลาส่วนใหญ่แก่ลูกมากกว่า

5. ช่วยทำงานบ้าน จ่ายตลาด จัดอาหารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำ นม ให้คุณแม่ขณะที่ให้ลูกดูดนม ช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อม ช่วยอาบน้ำแต่งตัวให้ลูก

6. ทำใจให้สงบเยือกเย็น ถ้าขณะนั้นคุณแม่เครียด เหนื่อย หงุดหงิดใจ ให้คุณพ่อช่วยปลอบโยนคุณแม่เพื่อช่วยให้คุณแม่สบายใจ หายหงุดหงิดให้คุณพ่อช่วยนวดคุณแม่เบาๆ บริเวณ คอ ไหล่ และหลังขณะกำลังให้นมลูก หรือเมื่อคุณแม่รู้สึกเครียด ทำให้มีน้ำนมไหลมากขึ้น

7. ช่วยดูแลลูกๆ ที่เหลือ (ถ้ามี)

8. แสดงความรักแก่แม่อย่างต่อเนื่อง อย่างที่เคยทำ

9. ตอบสนองความต้องการทางจิตใจของคุณแม่ตลอดระยะของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

10. ห้ามซื้อขวดนม หัวนมปลอม หรือนมผสมเข้าบ้านเด็ดขาด

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะช่วยให้คุณแม่ประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ง่ายขึ้น

ขอบคุณบทความดีๆจากเอกสาร “ คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก ” โดย  กรมอนามัยโดยกองอนามัยการเจริญพันธุ์ และกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ

โพสต์โดย W. Bond

ติดตามบทความน่าอ่าน เสื้อกันหนาวเด็ก ร้านขายเสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าเด็กนำเข้า รองเท้าเด็ก ชุดกันหนาวเด็ก เสื้อผ้าเด็กอ่อน เสื้อผ้าเด็กราคาถูก เสื้อผ้าเด็ก